call center      
034-305500
บทความ

4 วิธีดูแลรถยนต์ในหน้าร้อนเบื้องต้น

Thursday, May 5th, 2016 By bow bow

 ประเทศไทยได้เข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มตัว หลาย ๆ ก็มีแผนที่จะท่องเที่ยวในเดือนนี้เพราะมีวันหยุดยาวติดต่อกันในช่วงวันสงกราณต์ที่เราออกมาสาดน้ำคลายร้อนกัน

Image_01

ขนาดคนยังร้อนจนต้องออกมาสาดน้ำ แน่นอนว่ารถยนต์ที่อยู่ในสภาพอากาศแบบนี้ย่อมมีปัญหาแน่นอน วันนี้กระปุกคาร์จึงมาแนะนำวิธีดูแลรถยนต์หน้าร้อนให้ลองปฏิบัติกันดูเพื่อยืดอายุรถยนต์ให้สวยงามและไม่ต้องเสียค่าบำรุงซ่อมแซมไวเกินไป

😀 อย่าเร่งแอร์สู้ความร้อนในรถ

เรื่องนี้หลาย ๆ ท่านมักจะละเลยกัน เมื่อขึ้นรถควรไล่อากาศที่ร้อนจัดออกก่อน ด้วยการเปิดหน้าต่าง พร้อมปรับพัดลมแอร์สูงสุดเพื่อดันความร้อนโดยเร็ว หรือจะใช้วิธีเปิด-ปิดประตูรถเพื่อระบายความร้อนก็ได้ ทั้งหมดนี้จะไม่ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนัก เสียยากขึ้น และช่วยประหยัดน้ำมันอีกด้วยนะ

Tip : หากจอดในพื้นที่ปลอดภัยโจรกรรมก็แง้มหน้าต่างไว้บ้าง ทำให้ความร้อนในห้องโดยสารไม่สะสมสูงเกินไป ช่วยรักษาวัสดุภายในรถไม่ให้แห้ง กรอบ แตก เร็วเกินไป

😀 หมั่นขยับส่วนประกอบที่เป็นยาง

ด้วยความร้อนของแดดที่สะสมอาจทำให้วัสดุที่เป็นยางละลายจนเหนียวและด้าน เมื่อถึงเวลาใช้งานก็ฉีกขาด หมั่นเปิด-ปิดให้ขอบยางได้ขยับบ้าง เช่น หน้าต่าง, ประตูหลัง, กระโปรงท้ายรถ, หลังคาซันรูฟ และ ที่ปัดน้ำฝน

Tip: ควรขยับอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งจะยืดอายุได้มาก

 😀   เติมลมยางรถยนต์มาขึ้นสัก 2-3 ปอนด์

แรงดันลมยางให้มากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์ ช่วยป้องกันการเปิดตัวของแก้มยาง หากยางอ่อน แก้มยางเกิดการบิดตัวได้มากและร้อนง่ายกว่าปกติ ส่งผลให้แรงดันภายในของยางรถสูงขึ้นจนระเบิดได้

Tip: หมั่นตรวจสภาพยางมากว่าปรกติเพราะหน้าร้อนจะเห็นอาการของยางบวมได้ชัดเจน เมื่อเจอปัญหาควรรีบเปลี่ยนยาง

😀 เช็กน้ำในหม้อน้ำบ่อยขึ้น

ตรวจสอบน้ำในหม้อน้ำว่ามีลดหรือหายมากไปเพียงใด พร้อมเติมน้ำสะอาดในหม้อน้ำในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ โดยเฉพาะรถที่อายุใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบทุกสัปดาห์

Tip: ฟังเสียงพัดลมหม้อน้ำด้วยว่าทำงานปรกติอยู่หรือไม่

นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องที่อยากแนะนำอย่างอุณภูมิแอร์ในห้องโดยสารที่ไม่ควรเปิดให้เย็นฉ่ำต่างจากอากาศภายนอกมากนัก เพราะจะทำให้เมื่อเวลาขึ้น-ลงรถแล้วเจ็บป่วยได้ง่าย ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอาการอาจกำเริบได้เพราะร่างกายปรับอุณภูมิไม่ทัน โดยระดับความเย็นไม่ควรต่างกันเกิน 5 องศา

ทั้งหมดนี้มาบอกต่อเพื่อสุขภาพรถและสุขภาพผู้อ่านเอง หวังว่ามีประโยชน์ต่อทุก ๆ ท่านนะครับ ด้วยความเป็นห่วง 🙂

http://car.kapook.com/view86144.html

Facebooktwittermail

about the author

bow bow